เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

การศึกษาพิเศษและภาษาไทย

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

ปัจจุบันอาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่งเพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคงก้าวทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันแต่ก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้นจะต้องพัฒนาคนซึ่งได้แก่เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและมีความสมบูรณ์ครบทุกด้านจึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้และหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่งของครูก็คือการปลูกฝังความรู้ความคิดและจิตใจแก่เยาวชนเพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้าผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะด้านการศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาให้ผู้พิการ หรือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันได้ให้ความสำคัยกับเด็กกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นโดยจะเห็นได้จากการกำหนดกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ทั้ง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงการจัดการศึกาสำหรับคนพิการ ดังนั้นจะเห็นว่า ครูการศึกษาพิเศษมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการดังกล่าว เพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษาพิเศษและภาษาไทย)

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Education Program in Special Education and Thai Language

อักษรย่อภาษาไทย

กศพ.ท.

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

SP.E.T.P.

ปรัชญา

ผลิตครูการศึกษาพิเศษที่มีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษและภาษาไทย ทักษะ เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพไปสู่การจัดการศึกษาและพัฒนาครู ให้เป็นคนดี มีสติปัญญาความสามารถและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถเผชิญปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วยสติปัญญา

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีคุณลักษณะ ดังนี้
1. เป็นผู้มีความรอบรู้ความสามารถในศาสตร์ด้านการศึกษาพิเศษและภาษาไทย สามารถนำความรู้ไปพัฒนา บริการช่วยเหลือชุมชนและสังคมในด้านการสอน สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใน การปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
2. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
3. เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทนใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ ครูภาษาไทย อย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
4. เป็นผู้มีความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับครูการศึกษาพิเศษและครูภาษาไทย
5. มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่และเส้นทางวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษและครูภาษาไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1.ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ปีสุดท้ายของการศึกษา
2. ไม่เป็นผู้วิกลจริต ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกไล่ออกเนื่องจากถูกลงโทษทางวินัยจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อน
4. มีภูมิลำเนาที่พักอยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสุตรการศึกษาพิเศษและภาษาไทย เป็นหลักสูตรพิเศษของนักวิชาชีพเฉพาะด้านการศึกษา ที่สามารถนำความรู้ไปพัฒนา บริการช่วยเหลือชุมชนและสังคมในด้านการสอน สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใน การปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้มีความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับครูการศึกษาพิเศษและครูภาษาไทย ตลอดมีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่และเส้นทางวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษและครูภาษาไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครูการศึกษาพิเศษ/ครูผู้สอนเด็กพิการ
2. ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
3. ครูหรือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการด้านการศึกษาพิเศษ/คนพิการ
4. นักวิชาการทางด้านการศึกษาพิเศษ/คนพิการ
5. นักวิชาการทางด้านภาษาไทย
6. นักวิชาชีพในสถานประกอบการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ/คนพิการ และบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ/คนพิการ
7. อาชีพอื่น ๆ ที่ตรงกับสาขาวิชา

หมายเหตุ:
1) ครูการศึกษาพิเศษ หมายถึง ครูที่สอนเด็กพิการ โดยปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
2) หน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการด้านการศึกษาพิเศษ สถานประกอบการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ หมายถึง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ องค์การคนพิการแต่ละประเภท หน่วยงานหรือสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อ.เทอดเกียรติ ฉายจรุง

อีเมล

terdkiat_c@hotmail.com

โทร.

0643639551

หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ และมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2562 ในปีการศึกษา 2565

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

          1) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาไทย  พ.ศ. 2557

           2) คณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 9/2562  วันที่ 7  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

           3) สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2563 วันที่ 11 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563

            4) สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ศิรินทร สุดสายเนตร
อาจารย์ ศิรินทร สุดสายเนตร

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) การศึกษาพิเศษ (ความบกพร่องทางสถิติปัญญา)

การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

อาจารย์ เทอดเกียรติ ฉายจรุง
อาจารย์ เทอดเกียรติ ฉายจรุง

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) วิทยาการฟื้นฟูสรรถภาพคนพิการ แขนงวิชาการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) บริหารการศึกษา

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ