เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

เทคโนโลยีชีวภาพ (WIL)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

บัณฑิตพันธุ์ใหม่ เรียนควบคู่กับการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อการมีงานทำและสร้างงานได้ พร้อมมีรายได้ระหว่างเรียน

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) หลักสูตร WIL

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Science (Biotechnology)

อักษรย่อภาษาไทย

วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.Sc. (Biotechnology)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร ที่มีทักษะวิชาชีพ มีความใฝ่รู้ มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีทัศนคติที่ดีในวิชาชีพ พร้อมนำความรู้ไปปฏิบัติจริง

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1) มีความอดทน ประพฤติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพด้วยจิตสำนึก ภาคภูมิใจและรักในองค์กร มีความเสียสละและจิตสาธารณะ
2) มีทักษะและสมรรถนะในการบูรณาการความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
3) สามารถคิดวิเคราะห์และพัฒนางานอย่างเป็นระบบ มีเหตุและผลตามทักษะกระบวนการคิดเชิงเทคโนโลยี และบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์
4) มีภาวะผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ
5) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข เพื่อการประมวลผล และนำเสนอสารสนเทศในโลกยุคใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ม.6) หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี) หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
2) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หมวด 5 หรือ
3) ผ่านการคัดเลือกโดยระบบทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ
4) ผ่านการคัดเลือกโดยระบบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จุดเด่นของหลักสูตร

- การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL)
- เรียนภาคทฤษฎีในมหาวิทยาลัย 2 ปี และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ 2 ปี มีรายได้ระหว่างเรียน 100 เปอร์เซ็นต์
- เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนาร่วมกับองค์กรร่วมผลิตอื่น (สถานประกอบการ)
- มีอาจารย์ผู้ร่วมสอนที่เป็นผู้ประกอบการ
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับตลาดแรงงาน สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที
- ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ/ท้องถิ่นโดยมีบทบาทการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ (WIL) กับองค์กรร่วมผลิตอื่น (สถานประกอบการ)

แนวทางการประกอบอาชีพ

1) พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประะเทศ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน โรงงานผลิตยาปฏิชีวนะ เป็นต้น โดยปฏิบัติงานได้ทั้งในฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และฝ่ายห้องปฏิบัติการ
2) นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
3) นักประเมินโครงการ ในหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย หรือหน่วยงานพัฒนา
4) ประกอบอาชีพอิสระ นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อาจารย์ ดร.ปิยรัตน์ นามเสนา

อีเมล

piyarat_n@rmu.ac.th

โทร.

062-1491695

  • เป็นหลักสูตรที่พัฒนาสอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมสำคัญเดิม (First S-Curve)  ได้แก่ ด้านเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร ต่อยอดไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสร้างรากฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) 
  • ผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต (แหล่งงาน) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบัณฑิตมีทักษะในการปฏิบัติงานจริงพร้อมทำงาน และมีแหล่งงานรองรับ โอกาสว่างงานน้อย
  • มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่เป็นผู้ประกอบการร่วมทำการเรียนการสอน ได้แก่
    • 1) ว่าที่ ร้อยเอก ดร.ปัญญา ชัยรัตนพานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรีนเดลี่ ฟู้ดส์ จำกัด และ บริษัท กรีนออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด
    • 2) ดร. ทรงวิทย์ หงสประภาส ผู้จัดการ บริษัท สหภัณฑ์ เซ็นจูรี่ จำกัด
  • เป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนาร่วมกับองค์กรร่วมผลิตอื่น โดยทำบันทึกข้อตกลงระหว่างหลักสูตรและองค์กรร่วมผลิตได้แก่
    • (1) บริษัท กรีนเดลี่ ฟู้ดส์ จำกัด 
    • (2) บริษัท กรีนออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด
    • (3) บริษัท สหภัณฑ์ เซ็นจูรี่ จำกัด 
  • นักศึกษาในหลักสูตรชั้นปีที่ 3-4 จะเรียนในสถานประกอบการหรือองค์กรร่วมผลิตที่ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับหลักสูตร ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนในการเรียนโดยการปฏิบัติงานจริงเทียบเท่ากับพนักงานขององค์กรนั้นๆ 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ดร.ปิยรัตน์ นามเสนา
อาจารย์ ดร.ปิยรัตน์ นามเสนา

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) เทคโนโลยีชีวภาพ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) เทคโนโลยีชีวภาพ

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เทคโนโลยีชีวภาพ

อาจารย์ กุสุมาวดี ฐานเจริญ
อาจารย์ กุสุมาวดี ฐานเจริญ

กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผกามาศ จุลศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผกามาศ จุลศรี

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) เทคโนโลยีชีวภาพ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ชีววิทยา

ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

อาจารย์ ดร.อรอนงค์ ไชยเชษฐ
อาจารย์ ดร.อรอนงค์ ไชยเชษฐ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) เทคโนโลยีชีวภาพ

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ชีววิทยา

อาจารย์ ดร.ทรงวิทย์ หงสประภาส
อาจารย์ ดร.ทรงวิทย์ หงสประภาส

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) การจัดการความรู้และนวัตกรรม

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) การตลาด

อาจารย์ ว่าที่ ร.อ. ดร.ปัญญา ชัยรัตนพานิช
อาจารย์ ว่าที่ ร.อ. ดร.ปัญญา ชัยรัตนพานิช

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.) การตลาด

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) รัฐประศาสนศาสตร์

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) รัฐศาสตร์

เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ