เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

ธุรกิจดิจิทัล (WIL)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีหลักความรู้และทักษะ การบริหารธุรกิจ ทักษะดิจิทัล และทักษะภาษาอังกฤษ โดยมีการจัดการเรียนการสอนในรุูปแบบภาษาไทยเป็นหลักควบคู่กับการฝึกทักษะภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน และเป็นหลักสูตรที่พัฒนาทักษะเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมต่อการทำงานในยุคดิจิทัล

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

บริหารธุรกิจบัณฑิต ธุรกิจดิจิทัล (หลักสูตร WIL)

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Business Administration Program in Digital Business

อักษรย่อภาษาไทย

บธ.บ. (ธุรกิจดิจิทัล)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.B.A. (Digital Business)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทำงานและสามารถเป็นผู้ประกอบการระดับสากลในยุคดิจิทัล

วัตถุประสงค์

(1) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย เคารพสิทธิของผู้อื่น และมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
(2) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการกับกระบวนการทางธุรกิจ
(3) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการบูรณาความรู้ข้ามศาสตร์ ด้วยทักษะกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับขององค์กร
(4) เป็นผู้มีความสามารถในการปรับตัว ทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม
(5) เป็นผู้ที่มีความคิดรวบยอด (Concept) สามารถใช้ศิลปะในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สร้างภาพลักษณ์ด้วยความมั่นใจ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญา หรือ เทียบเท่า หรือ
3) เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรในระดับประกาศนียบัตร (Non-Degree) ของหลักสูตรและสะสมหน่วยกิต (Credit Banking) หรือ
4) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หมวด 5 หรือ
5) ผ่านการสอบคัดเลือกโดยระบบทดสอบกลาง (Admission) ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ
6) ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือ
7) ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงโดยคณะวิทยาการจัดการ

จุดเด่นของหลักสูตร

-เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีหลักความรู้และทักษะการบริหารธุรกิจ ทักษะดิจิทัล และทักษะภาษาอังกฤษ
-มีการจัดแผนการเรียน แบบ 3ปีครึ่ง โดยระหว่างเรียนนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี ในรูปแบบบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
-การออกฝึกงานจะออกฝึกตั้งแต่ปี 3 เทอม3 จนถึงปี4 เทอม1 ที่สถานประกอบการในตำแหน่งงานที่ตนสนใจในรูปแบบเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานในตำแหน่งงานที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้ทดองทำงานจริงมากกว่าหลักสูตรแบบฝึกงานปกติ และสามารถเรียนรู้ฝึกทักษะตำแหน่งโดยตรงจากบริษัท/ธุรกิจโดยตรง และสามารถใช้ทรัพยากรของบริษัทได้จริงเพื่อการฝึกปฏิบัติงาน อีกทั้ง มีโอกาสสูงได้รับการตอบรับเพื่อเข้าทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับงานและที่ทำงาน
-หลักสูตรมีความมุ่งหวังเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่21อย่างครบถ้วนเพื่อพร้อมสู่การทำงานในอนาคต

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. เจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ Startup ธุรกิจดิจิทัล (Digital Entrepreneur)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพสำหรับคนที่สนใจทำธุรกิจใหม่หรือมีธุรกิจส่วนตัวอยู่แล้ว และต้องการเพิ่ม กลยุทธ์ความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ให้กับธุรกิจเพื่อสร้างความแตกต่าง รวมถึงนำเสนอสินค้า/การบริการโดยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่หลากหลาย
2.นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นผู้มีความสามารถและมีทักษะทั้งทางด้านการตลาดและดิจิทัล โดยสามารถบริหารจัดการและใช้สื่อการตลาดได้อย่างเหมาะสมกับงบประมาณการตลาด การจัดการงานด้านครีเอทีฟ การพัฒนาแบรนด์ และงานด้านเนื้อหาคอนเท้นท์ รวมถึงมีทักษะในการใช้ Social Media/ Search Engine Marketing/ Email Marketing เป็นต้น
3. นักออกแบบสื่อดิจิทัล (Digital designer)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบงานต่างๆบนสื่อออนไลน์ เช่น แถบโฆษณา (Banner) สื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้า ออบแบบรูปลักษณ์ที่เป็นภาพ วีดีโอ การใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) หรือรูปแบบการสื่อสารต่างๆ บนแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลต่างๆในเชิงธุรกิจ (Digital Ads)
4. นักออกแบบแอพพลิเคชั่น (Application Designer)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการออบแบบหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนเพื่อให้องค์กร/ธุรกิจสามารถสื่อสาร ทำการตลาด และทำการขายกับลูกค้าได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพ
5. ผู้ดูแลลูกค้าและให้คำปรึกษาระหว่างประเทศ (International CRM Consultant)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่ใช้ทักษะผสมผสานในการสื่อสาร ทั้งการใช้ภาษา ความเข้าใจในพฤติกรรมและความแตกต่างทางความเชื่อ ศาสนา และวัฒนาธรรมของผู้คน รวมถึงสามารถตัดสินใจและประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลที่เหมาะสม เพื่อการบริหารจัดการและสร้างความประทับใจที่ดีที่สุด
6. นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analysis)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหา การพัฒนากลยุทธ์หรือวิธีการ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาของธุรกิจ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
7. นักวิเคราะห์ข้อมูลระบบ (Data System Analysis)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลดิจิทัล หรือฐานข้อมูลจากการประมวลผลของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสรุป วิเคราะห์ รายงานผล และนำเสนอแนวทาง/กลยุทธ์ที่เหมาะสม
8. นักสื่อสารเนื้อหาคอนเทนต์ (Content Marketing)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่นำเสนอเนื้อหาความรู้บนโลกออนไลน์ ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายจากประสบการณ์ ข้อมูล หรืองานวิจัย มาวิเคราะห์และสรุป แล้วเลือกใช้ภาษา วิธีการและลักษณะการนำเสนอ รวมไปถึงสื่อดิจิทัลในใช้ในการเผยแพร่
9. ผู้จัดการโซเชียลมีเดีย (Social Media Admin)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่เรียกกันอย่างง่ายว่าเป็น “แอดมิน” ซึ่งเป็นผู้ที่จะดูแลสื่อโซเซียลมีเดียในงานหลากหลายส่วน เช่น งานดูแลคอนเทนต์ งานโฆษณา และงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น บนช่องทางโซเซียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line Twitter Instagram และอื่นๆอีกมากมาย
10. นักวางแผนโฆษณา (Biddable Media)
คำอธิบายอาชีพ: เป็นอาชีพที่วางแผนตั้งแต่ การวางแผนงบประมาณ กำหนดเป้าหมาย ศึกษาลูกค้า ไปจนถึงการวางแผนในการซื้อสื่อโฆษณาที่เหมาะสมกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงยังสามารถอธิบายเสนอแนะถึงการเลือกใช้สื่อ และการทำให้โฆษณาค้นหาและเข้าใจง่ายโดยระบบค้นหาและจัดการข้อมูลออนไลน์บน Google

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

ดร.ณฐภศา เดชานุเบกษา

อีเมล

phimonwan.dec@gmail.com

โทร.

080-486-1335

ผู้ที่สนใจสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล ติดต่อสอบถามเพื่อฝากข้อมูลประวัติผู้สมัครล่วงหน้าได้ก่อนจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ผ่านช่องทาง Inbox Facebook Page ของสาขาวิชาได้โดยตรง : https://www.facebook.com/DBRMU

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ดร.ณฐภศา เดชานุเบกษา
อาจารย์ ดร.ณฐภศา เดชานุเบกษา

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.) กลุ่มวิชาการเงิน

Master of International Business (M.I.B.)

บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) การเงิน

อาจารย์ ปริญญา ทองคำ
อาจารย์ ปริญญา ทองคำ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิทยาการคอมพิวเตอร์

อาจารย์ นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์
อาจารย์ นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

Master of Business Administration (MBA) Business Administration

บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) การบัญชี

อาจารย์ ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์
อาจารย์ ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

Master of Marketing

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) การท่องเที่ยวและโรงแรม

อาจารย์ ดร.ธารีรัตน์ ขูลีลัง
อาจารย์ ดร.ธารีรัตน์ ขูลีลัง

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) การจัดการ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) การตลาด

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) การจัดการทั่วไป

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ