เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกล (WIL)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกล เน้นการเรียนการสอนในสถานประกอบการ เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยเรียนรู้จากการทำงานจริง สามารถบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกล (WIL))

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Science (Innovative Technology Machinery (WIL))

อักษรย่อภาษาไทย

วท.บ. (นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกล (WIL))

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.Sc. (Innovative Technology Machinery (WIL))

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกล สามารถบูรณาการองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังนี้
1) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตสาธารณะ และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
2) เป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลด้วยการบูรณาการความรู้และทักษะเพื่อการสร้างสรรค์ในสถานการณ์จริง
3) เป็นนวัตกรที่มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานด้านเครื่องจักรกล
4) เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น มีภาวะผู้นำและผู้ตาม ทำงานเป็นทีม มีทักษะชีวิตอย่างพอเพียง และดำรงชีวิตในองค์กรและสังคมอย่างมีความสุข
5) เป็นผู้มีทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารและนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในแผนการเรียนของ วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
2) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ในสาขาเครื่องกล เครื่องยนต์ เครื่องจักรกลเกษตร หรือสาขาอื่นๆ
3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามว่าด้วยการศึกษาระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. 2563 หมวด 5 หรือ ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกโดยระบบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม หรือผู้ผ่านการคัดเลือกโดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบ คัดเลือกหรือวิธีการอื่นของคณะเทคโนโลยีการเกษตร

จุดเด่นของหลักสูตร

ทำงานจริง เรียนจริง
มีรายได้ระหว่างเรียน

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้แก่ งานติดตั้งและงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล งานออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล งานด้านระบบการผลิต ด้านเครื่องยนต์ ด้านพลังงาน ด้านอาหาร และด้านอื่นๆในอุตสาหกรรม
2. ข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู
3. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านงานติดตั้งและงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล งานออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น อู่ โรงกลึง

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อาจารย์ชลดา ยอดยิ่ง , อาจารย์สมสุข ไตรศุภกิตติ

อีเมล

chonlada.yo@rmu.ac.th

โทร.

083-454-6474 , ID Line : somsukrmu

แนะนำสาขาวิชา

https://youtu.be/p4NHjDumnJQ

-

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ชลดา ยอดยิ่ง
อาจารย์ ชลดา ยอดยิ่ง

กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม) วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมเกษตร (สายเครื่องจักรกลเกษตร)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อริย์ธัช ชูโชติสกุลเลิศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อริย์ธัช ชูโชติสกุลเลิศ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมสุข ไตรศุภกิตติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมสุข ไตรศุภกิตติ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) วิศวกรรมเครื่องกล

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เคมีอุตสาหกรรม

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ