เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงประยุกต์ศิลป์)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

มุ่งพัฒนาผลงานเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

ศิลปบัณฑิต (ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงประยุกต์ศิลป์))

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Fine and Applied Arts

อักษรย่อภาษาไทย

ศล.บ. (ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงประยุกต์ศิลป์))

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.F.A. (Fine and Applied Arts)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะแขนงวิชาทัศนศิลป์และแขนงวิชาประยุกต์ศิลป์ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม สามารถชี้แนะ สร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศิลปกรรมศาสตร์เพื่อให้เกิดคุณค่าแก่สังคมมนุษยชาติ ในโลกศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์

1 มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางศิลปกรรมศาสตร์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2 มีความรู้ในหลักของฐานศาสตร์ทางศิลปกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมศาสตร์เพื่อประกอบอาชีพได้
3 มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่าทางสุนทรียะได้อย่างมีวิจารณญาณ
4 มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่น และมีทักษะในการจัดการทางศิลปกรรมศาสตร์
5 สามารถสื่อสารและนาเสนอแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม ผ่านผลงานทางศิลปกรรมศาสตร์
6 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีได้ดี
7 สามารถแสดงออกและพัฒนาทักษะทางศิลปกรรมศาสตร์ได้ตามความถนัดและความสามารถเฉพาะตน

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2563 หมวด 5 หรือ
3. ผ่านการคัดเลือกโดยระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มีเนื้อหาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล มีการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ และมีการจัดระบบบริหารจัดการที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน

แนวทางการประกอบอาชีพ

1 ศิลปิน
2 นักออกแบบ
3 ช่างฝีมือ (ช่างศิลป์)
4 ผู้สอนศิลปะ
5 ผู้ประกอบการด้านศิลปะ
6 ภัณฑารักษ์ (เจ้าหน้าที่ในหอศิลป์/พิพิธภัณฑ์)
7 เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปกรรมในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
8 ประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะ

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อาจารย์สิรินภา ขจรโมทย์

อีเมล

sirinpa@rmu.ac.th

โทร.

064-9390563

-

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ สิรินภา ขจรโมทย์
อาจารย์ สิรินภา ขจรโมทย์

กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) สื่อนฤมิต

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ศิลปะจินตทัศน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นัฐณรงค์ กวีพงศธร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นัฐณรงค์ กวีพงศธร

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อาจารย์ ดร.ภานุพงศ์ ธนะโคตร
อาจารย์ ดร.ภานุพงศ์ ธนะโคตร

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม