เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (แขนงนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านปฏิบัติการ/ ลงมือทำงานในพื้นที่ มีความเข้าใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน มีการทำวิจัยค้นคว้าในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนด้วยการเรียนควบคู่กับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของการพัฒนาและประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งเน้นให้เป็นนักวิชาการพัฒนาชุมชนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติงานได้จริง มีความรู้ความเข้าใจ มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (แขนงนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม))

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Arts (Social Sciences for Local Development)

อักษรย่อภาษาไทย

ศศ.บ. (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (แขนงนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม))

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.A. (Social Sciences for Local Development)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีมาตรฐานทางวิชาการ วิชาชีพ บูรณาการความรู้ นำท้องถิ่นสู่การพัฒนาที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

วัตถุประสงค์

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มีทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรู้เท่าทันสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงโลกที่ยากจะคาดเดา
2. มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสามารถเลือกองค์ความรู้ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนได้
3. มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ บูรณาการ ประยุกต์ สร้างสรรค์องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการ และการพัฒนาองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ และคาดการณ์แนวโน้มอนาคตของสังคมได้
4. มีความรู้และทักษะด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
5. มีความสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมจนเป็นผู้ประกอบการสังคมบุคคลที่มีความมุ่งมั่นและมีความตั้งใจที่จะลงทุนด้วยตนเองเพื่อทำกิจการใดทั้งในภาคธุรกิจที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ไปใช้ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ซึ่งผู้ประการสังคมจะต้องมีวิจารณญาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียง มีวินัยและค่านิยมที่ดี เสียสละอุทิศตน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
6. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพมีความรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2563 หมวด 5 หรือ
3. ผ่านการคัดเลือกโดยระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

- เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
- นักวิชาการทางสิ่งแวดล้อม
- เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
- เจ้าหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- นักวิจัยท้องถิ่น
- ครู อาจารย์ นักวิชาการ ด้านสังคมศึกษา/ สังคมศาสตร์
- นักสิ่งแวดล้อมชุมชน

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

นางสาวผุสดี กิจบุญ

อีเมล

pussadeekit@gmail.com

โทร.

089 - 744 - 2130

-

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ปวีนา ภูมิแดนดิน
อาจารย์ ปวีนา ภูมิแดนดิน

กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) สิ่งแวดล้อมศึกษา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

อาจารย์ ผุสดี กิจบุญ
อาจารย์ ผุสดี กิจบุญ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) การวางแผนสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา

อาจารย์ ดิษยพงศ์ หกสุวรรณ
อาจารย์ ดิษยพงศ์ หกสุวรรณ

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ