เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

บริหารธุรกิจเกษตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

บริหารธุรกิจเกษตรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นได้ประกอบกับการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในด้านราคาและคุณภาพสินค้าทางการเกษตรจึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านการจัดการทรัพยากร การผลิต การเงินการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและบริหารจัดการผลผลิตทางด้านการเกษตร อันเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามมาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้จำเป็นจะต้องใช้นักบริหารจัดการธุรกิจเกษตรจำนวนมาก ที่มีความเป็นมืออาชีพ มีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ที่จะช่วยชี้นำและขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย โดยเฉพาะอาชีพด้านการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย หากสามารถนำเอาวิทยาการด้านการบริหารจัดการธุรกิจมาบริหารจัดการความรู้และพัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตรให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรบัณฑิต (บริหารธุรกิจเกษตร)

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Science (Agribusiness Administration)

อักษรย่อภาษาไทย

วท.บ. (บริหารธุรกิจเกษตร)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B. Sc. (Agribusiness Administration)

ปรัชญา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (บริหารธุรกิจเกษตร) มุ่งผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการและมีทักษะในวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจเกษตรประกอบกับการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ตลอดจนนำความรู้มาประกอบอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำพาประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการและการวิจัย (ด้านบริหารธุรกิจเกษตร) ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเคารพต่อกฎระเบียบทางสังคมและสิทธิส่วนบุคคล พร้อมมีจิตสาธารณะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
2. มีความสามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิชาการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม พร้อมปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานทางวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
4. มีความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในแผนการเรียนของ วิทย์–คณิต , วิทย์-สุขภาพ , วิทย์-คอม , ศิลป์-ธุรกิจ, ศิลป์-คำนวณ , ศิลป์-ภาษา(จีน,เกาหลี,ฝรั่งเศส ฯลฯ) , ทวิศึกษา(คู่ขนาน ปวช.) , ห้องเรียนพิเศษ GIFTED , ห้องเรียนคู่ขนานวิชาการ , ห้องเรียนพิเศษ English Integrated Study : EIS , ห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ SEM หรือ MSB , ห้องเรียนพิเศษ LMS , ห้องเรียนพิเศษ SMARTCLASS ฯลฯ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือสาขาอื่นๆ เทียบเท่า
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามว่าด้วยการศึกษาระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. 2563 หมวด 5 หรือ ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกโดยระบบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม หรือผู้ผ่านการคัดเลือกโดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร ด้วยวิธีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบ คัดเลือกหรือวิธีการอื่นของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
4. ผ่านการคัดเลือกโดยระบบทดสอบกลางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือ TCAS

จุดเด่นของหลักสูตร

1. หน่วยกิตลดลง จาก 138 หน่วยกิต ... เหลือ 130 หน่วยกิต
2. มีการบูรณาการเรียนการสอน(เรียนรู้นอกสถานที่ เช่น สถานประกอบการทางบริหารธุรกิจเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในประกอบทำธุรกิจเกษตรในอนาคต)

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรหรือด้านการบริหารธุรกิจการเกษตร
2. พนักงานและข้าราชการในหน่วยงานภาครัฐ เช่น หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์่ , กรมวิชาการเกษตร(สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร - สำนักงานเกษตร - สำนักงานทีดิน -ฯลฯ) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. พนักงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ (ตำแหน่ง สินเชื่อ - พัฒนาธุรกิจ - บริการลูกค้า ฯลฯ)
4. พนักงานในภาคเอกชน เช่น บริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร บริษัทผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ (เบทาโกร - ซีพี - โรงงานน้ำตาล ฯลฯ)
5. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านการบริหารธุรกิจเกษตร เช่น กิจการการผลิตพืชผลทางการเกษตร กิจการฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กิจการการค้าปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตร

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อาจารย์ปริญญา เปรมโต

อีเมล

ohmirez@gmail.com

โทร.

0877713558

สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร เป็นหลักสูตรที่ศึกษาตั้งแต่กระบวรการผลิตพืช หลักการผลิตสัตว์ จนกระทั่งถึงกระบวนการศึกษาในรูประบบธุรกิจเกษตร สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทและหน้าที่ทั้งด้านการวางแผนการผลิต การจัดการด้านตลาด การเงิน การบัญชี การวิจัย การวางแผนเชิงบูรณาการตลอดจนทางด้าน การตลาด การส่งออก และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในธุรกิจเกษตร รวมถึงประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการจัดการกลยุทธ์ทางธุรกิจเกาตร ให้สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ดร.มนันยา นันทสาร
อาจารย์ ดร.มนันยา นันทสาร

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) เศรษฐศาสตร์ประยุกต์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) การจัดการอุตสาหกรรมเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เศรษฐศาสตรฺ์เกษตร

อาจารย์ เกศจิตต์ ขามคุลา
อาจารย์ เกศจิตต์ ขามคุลา

กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ธุรกิจการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เกษตรศาสตร์(พืชสวน)

อาจารย์ นฤดล สวัสดิ์ศรี
อาจารย์ นฤดล สวัสดิ์ศรี

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) บริหารธุรกิจ

บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) การจัดการ

อาจารย์ มหินทร โพธิวรรณ์
อาจารย์ มหินทร โพธิวรรณ์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

Master of Science (M.Sc.) Supply Chain and Logistics Management

Bachelor of Science (B.Sc. (Honours)) Management with marketing

อาจารย์ ปริญญา เปรมโต
อาจารย์ ปริญญา เปรมโต

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ธุรกิจการเกษตร

ศิลปประยุกต์บัณฑิต (ศป.บ.) ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ