เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

สถิติประยุกต์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

นักศึกษามีทักษะเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงาน หรือ Infographic

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรบัณฑิต (สถิติประยุกต์)

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Science (Applied Statistics)

อักษรย่อภาษาไทย

วท.บ. (สถิติประยุกต์)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.Sc. (Applied Statistics)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบุคลากรทางด้านสถิติที่มีความรู้ความสามารถทั้งทฤษฎีและการประยุกต์ในด้านสถิติ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาอื่นได้อย่างกว้างขวาง สนองต่อการพัฒนาชุมชนและประเทศแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้นักศึกษาเป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นผู้ตระหนักถึง การบูรณาการศาสตร์ต่างๆในการพัฒนาหรือแก้ปัญหา สามารถสร้างโอกาสคุณค่าให้ตนเอง สังคม และท้องถิ่น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สามารถดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งมีคุณค่าของสังคม มีจริยธรรม ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่า รักชาติ รวมพลังเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ
3) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้หลักวิชาการและทักษะการปฏิบัติด้านสถิติ สามารถนำไประยุกต์ใช้ ในการทำงานได้
4) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองโดยการเทียบโอนผลการเรียน ตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามว่าด้วยการโอนผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียนและการเทียบโอนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566
3) ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2566

จุดเด่นของหลักสูตร

- จัดการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติงานจริง (CWIE)
- มีทักษะพร้อมปฏิบัติงานได้ทันทีหลังเรียนจบ

แนวทางการประกอบอาชีพ

1 นักวิชาการสถิติ/นักสถิติ
2 นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
3 นักวิทยาการข้อมูล/นักวิเคราะห์ข้อมูล
4 นักควบคุมคุณภาพ
5 นักวางแผนการผลิต
6 นักสถิติประกันภัย
7 บุคลากรทางการศึกษา
8 นักวิจัย
9 อื่นๆ

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อาจารย์ ดร.ปรมาภรณ์ แสงภารา

อีเมล

paramaporn.sa@rmu.ac.th

โทร.

0982498478

ผลลัธ์การเรียนรู้รายชั้นปี

ปีการศึกษาที่ 1 : (Pre-course Experience )

นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นตามหลักการทางสถิติได้ โดยสังเกตการณ์การเก็บบันทึกข้อมูลร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัด 

ปีการศึกษาที่ 2 : นักสถิติ (Work Based Learning: WBL)

นักศึกษาสามารถจัดเตรียมข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ โดยมีการอบรมและปฏิบัติงานด้านการจัดการข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัด 

ปีการศึกษาที่ 3 : นักวิเคราะห์ข้อมูล (Project Based Learning: PBL)

นักศึกษาสามารถสร้างตัวแบบแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติได้ ประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้ฟัง/อ่านเข้าใจได้ และอธิบายผลกระทบของการบิดเบือนข้อมูลได้

ปีการศึกษาที่ 4 : (ปฏิบัติงานจริงในหน่วยงาน/สถานประกอบการ)

นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ทางสถิติกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ ดร.ปรมาภรณ์ แสงภารา
อาจารย์ ดร.ปรมาภรณ์ แสงภารา

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สถิติ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สถิติประยุกต์

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) คณิตศาสตร์

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ