เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง (WIL)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง เป็นสาขาวิชาชีพเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การวางแผน. การก่อสร้าง และการจัดการสำหรับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น อาคาร ถนน สะพาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น
วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารงานก่อสร้างและสามารถประยุกต์เทคโนโลยีและระบบสารสารสนเทศในการวางแผนและการดำเนินการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง (WIL))

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Engineering (Construction Management Engineering)

อักษรย่อภาษาไทย

วศ.บ. (วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง (WIL))

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.Eng. (Construction Management Engineering)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้ ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศในการวางแผนและการดำเนินงานด้านการก่อสร้างบนพื้นฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกต่อสังคม โดยเป็นการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศโดยการประสานงานกับภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ

วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง ดังนี้
(1) มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ และทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และต่อสังคม และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
(2) มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
(3) มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ
(4) คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
(5) มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
(6) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

(1) ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือประกาศจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
(2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
(3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หมวด 5 หรือ
(4) ผ่านการคัดเลือกโดยระบบทดสอบกลาง (Admission) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ
(5) ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จุดเด่นของหลักสูตร

(1) อาจารย์ประจำหลักสูตร มีความรู้และประสบการณ์ ผ่านการทำงานจริงในโครงการก่อสร้างทุกระดับ และการทำงานในหน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(2) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้านวิศวกรรมโยธาและบริหารงานก่อสร้างและมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.) ซึ่งครอบคลุมทุกสายงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง
(3) หลักสูตร ได้ทำการปรับปรุงให้ทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และสนับสนุนการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (WIL) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนในมหาวิทยาลัยและทำงานในสถานประกอบการไปพร้อมกัน
(4) หลักสูตร วุฒิ วศ.บ. เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถยื่นขอรับใบ กว. ระดับภาคีพิเศษ เมื่อมีผลงานและประสบการณ์ทำงาน 2 ปี
(5) อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน ความพร้อมของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ วัสดุ คอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ที่ทันสมัย เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพ

(1) วิศวกรวางแผนโครงการ
(2) ผู้ประสานงานโครงการก่อสร้าง
(3) ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
(4) เจ้าหน้าที่ออกแบบ/เขียนแบบก่อสร้าง
(5) ผู้ประมาณราคางานก่อสร้าง
(6) นักจัดซื้อจัดจ้างและบริหารสัญญา
(7) ผู้ประกอบการและอาชีพอิสระที่ตรงสาขา เช่น รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
(8) เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างในหน่วยงานของภาครัฐ
(9) นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการการบริหารก่อสร้าง

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

อ.ดร.วิทธวัช ทิพย์แสนพรหม

อีเมล

tspwitt@gmail.com

โทร.

0803259259

เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

  • พื้นฐานทางวิศวกรรม เช่น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เขียนแบบ กลศาสตร์ เป็นต้น
  • พื้นฐานทางวิศวกรรมก่อสร้าง/โยธา เช่น กำลังวัสดุ การทดสอบวัสดุ ปฐพีกลศาสตร์ สำรวจ เทคโนโลยีคอนกรีต การออกแบบโครงสร้าง เป็นต้น
  • การบริหารงานก่อสร้าง เช่น การบริหารงานก่อสร้าง การวางแผนงานก่อสร้าง การควบคุมและตรวจสอบงาน เทคโนโลยีระบบอาคาร การประกอบธุรกิจก่อสร้าง เป็นต้น

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ คมณ์สุชาติ บัวภา
อาจารย์ คมณ์สุชาติ บัวภา

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมโยธา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรภัทร น้อยหลุบเลา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรภัทร น้อยหลุบเลา

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปริญญาดุษฎดีบัณฑิต (ปร.ด.) วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมเกษตร

อาจารย์ ดร.จีรพรรณ ดลรักษ์
อาจารย์ ดร.จีรพรรณ ดลรักษ์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรดุษฎดีบัณฑิต (วศ.ด.) วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมโยธา

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอ.บ) วิศวกรรมโยธา

อาจารย์ ดร.พงศกร พิมพะนิตย์
อาจารย์ ดร.พงศกร พิมพะนิตย์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) วิจัยและประเมินผลการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมดินและน้ำ

อาจารย์ สำเร็จ สารมาคม
อาจารย์ สำเร็จ สารมาคม

กรรมการบริหารหลักสูตร


คุณวุฒิการศึกษา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค

หน่วยงาน/สถานประกอบการ

บริษัท ทูเก็ตเตอร์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ