เกี่ยวกับเว็บไซต์

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอน
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลการติดต่อ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
iservice@rmu.ac.th
043-713080-9 ต่อ 304

Follow Us

ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงทัศนศิลป์)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี

มาเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

มุ่งเน้นพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

ศิลปบัณฑิต (ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงทัศนศิลป์))

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Fine and Applied Arts

อักษรย่อภาษาไทย

ศล.บ. (ศิลปกรรมศาสตร์ (แขนงทัศนศิลป์))

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

B.F.A. (Fine and Applied Arts)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะแขนงวิชาทัศนศิลป์และแขนงวิชาประยุกต์ศิลป์ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม สามารถชี้แนะ สร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศิลปกรรมศาสตร์เพื่อให้เกิดคุณค่าแก่สังคมมนุษยชาติ ในโลกศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์

1 มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสานึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางศิลปกรรมศาสตร์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2 มีความรู้ในหลักของฐานศาสตร์ทางศิลปกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมศาสตร์เพื่อประกอบอาชีพได้
3 มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่าทางสุนทรียะได้อย่างมีวิจารณญาณ
4 มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่น และมีทักษะในการจัดการทางศิลปกรรมศาสตร์
5 สามารถสื่อสารและนาเสนอแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม ผ่านผลงานทางศิลปกรรมศาสตร์
6 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีได้ดี
7 สามารถแสดงออกและพัฒนาทักษะทางศิลปกรรมศาสตร์ได้ตามความถนัดและความสามารถเฉพาะตน

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 4 ภาคเรียน (ชั้น ม.4 – ม.5)
3. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคต่อไปนี้ คือ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการ เป็นที่รังเกียจแก่สังคมหรือติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงและโรคพิษสุราเรื้อรัง
4. คุณสมบัติเฉพาะด้านวิชาการ และด้านคุณธรรม จริยธรรมด้านต่างๆ ที่เป็นประจักษ์และบำเพ็ญประโยชน์ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือกิจกรรมภายในโรงเรียน หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ รายละเอียดดังเอกสารแนบท้ายประกาศ

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มีเนื้อหาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล มีการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึก และความภูมิใจในอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ และมีการจัดระบบบริหารจัดการที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน

แนวทางการประกอบอาชีพ

1 ศิลปิน
2 นักออกแบบ
3 ช่างฝีมือ (ช่างศิลป์)
4 ผู้สอนศิลปะ
5 ผู้ประกอบการด้านศิลปะ
6 ภัณฑารักษ์ (เจ้าหน้าที่ในหอศิลป์/พิพิธภัณฑ์)
7 เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปกรรมในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
8 ประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะ

ข้อมูลการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

ผศ.ประภาพร อุตมา

โทร.

0637829546

-

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ประภาพร อุตมา
รองศาสตราจารย์ ประภาพร อุตมา

ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.) ทัศนศิลป์

ศิลปบัณฑิต (ศ.บ.) จิตรกรรม

อาจารย์ อภิชาติ เอี่ยมวิจารณ์
อาจารย์ อภิชาติ เอี่ยมวิจารณ์

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม. ศิลปะไทย) ศิลปะไทย

ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.ศิลปะไทย) ศิลปะไทย

อาจารย์ พรสวรรค์ นนทะภา
อาจารย์ พรสวรรค์ นนทะภา

กรรมการบริหารหลักสูตร

คุณวุฒิการศึกษา

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาฯ